ปัจจุบัน
โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ มีทั้งหมด 11 แห่ง ระดับการศึกษาสูงสุดคือ ม.3 (โรงเรียนวัดท่าสะต๋อย ศรีดอนไชย ศรีปิงเมือง) นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวรายได้น้อยถึงยากจน และประกอบอาชีพเป็นแรงงานภาคบริการภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีนักเรียนส่วนน้อยที่ต้องการสำเร็จการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี โดยส่วนมากจะจบการศึกษาในระดับ ม.3 และออกไปหางานทำเพื่อยังชีพครอบครัว แต่สถาบันการศึกษายังไม่มีหลักสูตรเพื่อรองรับวิชาชีพเฉพาะทางที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปประกอบอาชีพอื่นๆ ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน อีกทั้งมีหลายอาชีพที่เป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาตลาดแรงงาน แต่กลับถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญ
เปลี่ยน
- ปรับหลักสูตรวิชาสามัญ เพิ่มหลักสูตรวิชาชีพที่ใช้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นวิชาชีพได้จริง เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น เชฟ ช่างฝีมือ พนักงานโรงแรม ฯลฯ เพื่อรองรับตลาดแรงงานภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
- ทำ MOU กับภาคธุรกิจในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อส่งนักเรียนเข้าไปเรียนรู้ประสบการณ์จริงในการประกอบวิชาชีพ
- จัดตั้งนโยบาย 1 โรงเรียน 1 วิชาชีพ เช่น โรงเรียนกาแฟ โรงเรียนทำอาหาร โรงเรียนช่าง เป็นต้น
เชียงใหม่ได้อะไร
- นักเรียนประจำโรงเรียนเทศบาลนครเชียงใหม่เรียนจบมามีงานทำ และเป็นแรงงานสำคัญในการขับเคลื่อนเมืองต่อไป
- คุณภาพของบุคคลากรในตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่สามารถพัฒนาต่อยอดสู่ระดับสากล เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพใหม่
- ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพเฉพาะทาง รวมถึงให้ความสำคัญกับความรู้และประสบการณ์การทำงานที่นอกเหนือจากการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา