เมืองยกระดับสาธารณสุข

50. ฐานข้อมูลสาธารณสุขเมือง เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน

เมืองยกระดับสาธารณสุข

ปัจจุบัน งานสาธารณสุขของเทศบาลนครเชียงใหม่ในด้านการจัดการข้อมูลยังอยู่ในช่วงพัฒนา มีการใช้โครงสร้างข้อมูลเพื่อเชื่อมต่อกับหน่วยงานสาธารณสุขภายในท้องที่ แต่ยังขาดการจัดระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยและบริการด้านสาธารณสุขอย่างไร้รอยต่อ การพัฒนานี้ยังจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการเขียนโปรแกรมมาช่วยออกแบบและวางโครงสร้าง เพื่อให้ข้อมูลถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการสาธารณสุขได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนในระยะยาว และส่งเสริมการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เปลี่ยน เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

50. ฐานข้อมูลสาธารณสุขเมือง เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน Read More »

49. นวดแผนไทย ชาวเชียงใหม่เข้าถึง

เมืองยกระดับสาธารณสุข

ปัจจุบัน การนวดแผนไทย ศาสตร์แขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทยในรูปแบบการนวดบำบัด เพื่อกระตุ้นอวัยวะภายในและเพิ่มความยืนหยุ่นของกล้ามเนื้อ ให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น สามารถบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ รวมไปถึงฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ป่วย เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคพาร์กินสัน ธุรกิจนวดแผนไทยถือเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะมีอัตราการใช้บริการมากขึ้นอีกในอนาคต แต่บุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการนวดแผนไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์สูง จังหวัดเชียงใหม่ มีศูนย์ให้บริการนวดแผนไทย เช่น ศูนย์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์แพทย์แผนไทย 2 โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ส่วนมากจะตั้งอยู่ในเขตโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย ทำให้มีประชาชนชาวเชียงใหม่จำนวนไม่น้อย ที่ยังเข้าไม่ถึงศูนย์บริการเหล่านี้ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่น อัตราค่าบริการ การเดินทาง เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ในการเข้าถึงบริการนวดแผนไทย ดังนี้ เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

49. นวดแผนไทย ชาวเชียงใหม่เข้าถึง Read More »

48. ตั้งธนาคารอุปกรณ์การแพทย์ ผู้ป่วยรักษาต่อที่บ้านได้

เมืองยกระดับสาธารณสุข

ปัจจุบัน ปัจจุบันประเทศไทยกำลังสู่สังคมสูงวัย มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ตามข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ปี 2567 ระบุว่า จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนผู้สูงอายุ 24% ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง 11% ผู้สูงอายุที่ดูแลกันเอง 6% และผู้สูงอายุที่รอการดูแล 6% ซึ่งมีผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียงเป็นจำนวนมาก โดยปกติ หลังจากที่ผู้ป่วยเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาตัวจากโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย จำเป็นต้องได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับบ้านไปแล้ว แต่พบว่าผู้ป่วยหลายคนกลับไม่ได้ฟื้นฟูร่างกายดีเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยเกิดความล่าช้า ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง  เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่ จะจัดตั้ง ธนาคารอุปกรณ์ทางการแพทย์  บริการให้ยืมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน โดย เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

48. ตั้งธนาคารอุปกรณ์การแพทย์ ผู้ป่วยรักษาต่อที่บ้านได้ Read More »

47. เปลี่ยนงานอาสาสาธารณสุขเป็นนักบริบาลอาชีพ เจ็บป่วยดูแลทั่วถึงทุกครัวเรือน

เมืองยกระดับสาธารณสุข

ปัจจุบัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า อสม. เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชน เปรียบเสมือนด่านแรกในการดูแลสุขภาพของชุมชน มีหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพอนามัย รวมถึงให้บริการสาธารณสุขด้านต่าง ๆ เช่น  ให้คำแนะนำ เฝ้าระวังป้องกันโรค ช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นต้น ซึ่ง อสม. จะถูกคัดเลือกจากคนในชุมชน และต้องเป็นคนในชุมชนนั้น ๆ ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชน การมีส่วนร่วมของ อสม. จึงส่งผลดีต่อสุขภาพชุมชน ประชาชนมีสุขภาพดี โรคภัยไข้เจ็บลดลง เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น และสังคมเข้มแข็ง ในปัจจุบัน อสม. เป็นการทำงานแบบอาสาสมัคร โดยจะไม่ได้รับเงินเดือน แต่จะได้รับค่าตอบแทนเป็น ‘ค่าป่วยการ’ จำนวน 2,000 บาท ต่อเดือน ในปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีคนที่ทำงานเป็น อสม. เกือบ 37,00 คน (อ้างอิงจากฐานข้อมูล ฌกส. – อสม. จังหวัดเชียงใหม่ จากระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน ปี 2567) แต่ไม่ได้รับการดูแลอย่างครอบคลุมทั้งรายได้และสวัสดิการ รวมถึงทักษะการปฏิบัติงานต่าง ๆ เกิดจากการฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน จึงไม่ถูกนับเป็นวิชาชีพ ทำให้การให้บริการทางสาธารณสุขแก่คนในชุมชนยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ 

47. เปลี่ยนงานอาสาสาธารณสุขเป็นนักบริบาลอาชีพ เจ็บป่วยดูแลทั่วถึงทุกครัวเรือน Read More »

46. ยกระดับโรงพยาบาลเทศบาลฯ สู่มาตรฐานระดับอำเภอ ลดคิว ปรับระบบสาธารณสุข

เมืองยกระดับสาธารณสุข

ปัจจุบัน อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ไม่มีโรงพยาบาลประจำอำเภออย่างเป็นทางการ ประชาชนจึงต้องไปใช้บริการที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) หรือโรงพยาบาลนครพิงค์ ซึ่งสร้างความแออัดและคิวที่ยาวนานในการรับการรักษาพยาบาล จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่ ปี 2566 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่มีผู้ป่วยเฉลี่ยถึง 500 คนต่อวัน  สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากขีดจำกัดของโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ด้วยเป้าหมายที่จะให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การให้บริการของโรงพยาบาลถดถอยลง เนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีเพียง 20 เตียง มีหมอ 10 คน ทันตแพนทย์ 5 คน พยาบาล30 คน (ข้อมูลเพิ่มเติมของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ ปี 2554) และเปิดทำการตามเวลาราชการ ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่สามารถตอบความต้องการของประชากรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ได้อย่างเพียงพอ เปลี่ยน เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

46. ยกระดับโรงพยาบาลเทศบาลฯ สู่มาตรฐานระดับอำเภอ ลดคิว ปรับระบบสาธารณสุข Read More »

45. คลินิกชุมชน สี่แขวง บริการสาธารณสุขเชิงรุก ลดคิวที่โรงพยาบาล

เมืองยกระดับสาธารณสุข

ปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงใหม่ไม่มีโรงพยาบาลรัฐประจำตำบล ทำให้ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเล็กน้อยต้องไปใช้บริการที่โรงพยาบาลใหญ่ เช่น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์ ซึ่งมีความหนาแน่นของคนไข้สูง ส่งผลให้คิวยาวและใช้เวลารอคอยมาก ตามข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่ ปี 2566 รายงานสถานการณ์สุขภาพในเชียงใหม่พบว่ามีผู้ป่วยที่ต้องรอรับบริการในโรงพยาบาลใหญ่เฉลี่ยถึง 500 คนต่อวัน ซึ่งเกินกว่าความสามารถในการรองรับของโรงพยาบาลใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยน เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

45. คลินิกชุมชน สี่แขวง บริการสาธารณสุขเชิงรุก ลดคิวที่โรงพยาบาล Read More »

Scroll to Top