เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

7. เขตเทศบาลลดควัน ไม่เผาขยะตลอดปี

เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

ปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่มีการประกาศห้ามเผาขยะในช่วงฤดูฝุ่นควันระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายนของทุกปีเพื่อควบคุมปัญหามลพิษทางอากาศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเผาขยะยังคงเกิดขึ้นตลอดทั้งปีในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ประชาชนเสี่ยงเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็มากขึ้น และสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบ ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ถดถอย จากสารเคมีอันตรายจากการเผาขยะ ไม่ว่าจะเป็นไดออกซิน เบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลพิษขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษในปี 2566 พบว่า ค่าฝุ่นละออง PM2.5 ในเชียงใหม่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติถึง 101 วันต่อปี และหากดูค่าเฉลี่ยนเกณฑ์มาตรฐานไทยที่ 37.5 ก็ยังเกินเกณฑ์ถึง 98 วัน เปลี่ยน เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

7. เขตเทศบาลลดควัน ไม่เผาขยะตลอดปี Read More »

6. รับซื้อใบไม้แห้งทำปุ๋ยตลอดปี สร้างรายได้ ลดเผาลดฝุ่น

เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

ปัจจุบัน เชียงใหม่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองต้นไม้ร่มรื่น แต่ความร่มรื่นนั้นมาพร้อมกับขยะกิ่งไม้ใบไม้จำนวนมหาศาลเกลื่อนกลาดบนท้องถนนทั้งสายหลักและสายชุมชน โดยไม่มีการเก็บให้สะอาดเรียบร้อยอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงใบไม้ร่วง กลายเป็นมลพิษทางสายตาและปัญหาด้านสุขอนามัย และยังเป็นภาระในการจัดการของเทศบาลนครเชียงใหม่อีกด้วย บางครัวเรือนแก้ไขปัญหานี้ด้วยการลักลอบเผา ซึ่งปัจจุบัน นโยบายของเทศบาลในการจัดการใบไม้ ยังไม่เพียงพอและไม่ยั่งยืน ทำให้เมืองเชียงใหม่ดูสกปรก ไม่เป็นระเบียบ และอาจจะเกิดปัญหาท่อน้ำอุดตันในอนาคต ควรมีระบบจัดการขยะจากกิ่งไม้ใบไม้ที่ยั่งยืนกว่านี้ เปลี่ยน เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 9

6. รับซื้อใบไม้แห้งทำปุ๋ยตลอดปี สร้างรายได้ ลดเผาลดฝุ่น Read More »

5. จัดตั้งห้องปลอดฝุ่นควันสาธารณะ พักปอดฟรีทั่วเมืองเชียงใหม่

เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

ปัจจุบัน ฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน กลายเป็นปัญหาภัยร้ายคุกคามสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเปราะบางเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบร้ายแรงจากฝุ่นละออง PM2.5 ห้องปลอดฝุ่นควันสาธารณะ เปรียบเสมือนโอเอซิสท่ามกลางมลพิษ เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ ในช่วงที่มีมลพิษฝุ่นละอองสูง ประชาชนควรลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ห้องปลอดฝุ่นควันสาธารณะจึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ปลอดภัย ช่วยให้ประชาชนสามารถใช้เวลาวันหยุดพักผ่อนได้อย่างมีสุขภาพดี ปัจจุบัน เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ยัง ขาดแคลนห้องปลอดฝุ่นควันสาธารณะ อย่างมาก ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้สะดวก พื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในโรงพยาบาล ร้านค้า ฟิตเนส และ co-working space ซึ่งมักมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ข้อมูลจากเว็บไซต์ podfoon.anamai.moph.go.th ระบุว่า เขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีห้องปลอดฝุ่นควันสาธารณะเพียง 72 แห่ง รองรับผู้ใช้งานได้เพียง 202 คนเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะเร่งจัดตั้งห้องปลอดฝุ่นควันสาธารณะ  เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย ช่วยลดปัญหาสุขภาพจากมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองเชียงใหม่ให้ดีขึ้น โดย เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 10

5. จัดตั้งห้องปลอดฝุ่นควันสาธารณะ พักปอดฟรีทั่วเมืองเชียงใหม่ Read More »

4. อุปกรณ์ตั้งรับฝุ่นควันครบครัน ทั่วถึง

เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

ปัจจุบัน การแจกจ่ายหน้ากากอนามัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 40 ตารางกิโลเมตร กระจุกตัวไม่ทั่วถึง ประชาชนต้องรอคิว แจกเป็นครั้งคราว แจกเฉพาะกลุ่ม ทำให้กลุ่มเปราะบางไม่ได้รับหน้ากาก และนอกจากการสวมหน้ากากอนามัยแล้ว ยังมีมุ้งระบบความดันอากาศ นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดฝุ่น PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพัดลมจะเป่าอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในมุ้ง สร้างแรงดันอากาศภายในมุ้งให้มากกว่าภายนอก ป้องกันไม่ให้ฝุ่น PM2.5 เล็ดลอดเข้ามา เปลี่ยน เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 9

4. อุปกรณ์ตั้งรับฝุ่นควันครบครัน ทั่วถึง Read More »

3. นวัตกรรมสู้ฝุ่นควัน พลังนักเรียนนักศึกษา

เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

ปัจจุบัน อุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่นควัน เครื่องฟอกอากาศในรูปแบบต่างๆ ประชาชนต้องหาซื้อแบบสำเร็จรูปเอง มีค่าใช้จ่าย นักเรียน นักศึกษา ไม่มีวิชาเรียนจำเพาะเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นควันในท้องถิ่น เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะร่วมมือกับสถานศึกษาในเขต เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 11

3. นวัตกรรมสู้ฝุ่นควัน พลังนักเรียนนักศึกษา Read More »

2. ตรวจตราฝุ่นควันตลอดปี รับรู้ฝุ่นควันร่วมกัน

เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

ปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาฝุ่นควันต้องควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควันในทุกมิติตลอดปี  ในเขตเทศบาลนครเมืองเชียงใหม่มีสถานีวัดฝุ่นควันของกรมควบคุมมลพิษ 1 แห่ง ทำให้ไม่สามารถตรวจตราแหล่งกำเนิดฝุ่นควันได้อย่างทั่วถึงตรงกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่จริง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศให้เหมาะสม เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศต้นทุนต่ำ ความหนาแน่นทุกๆ 500 ตารางเมตร (Micro Grid) ช่วยเพิ่มจำนวนสถานีวัดฝุ่นควัน ให้ข้อมูลคุณภาพอากาศที่มีความละเอียดสูง และสะท้อนสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ และเมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาบริหารจัดการ วิเคราะห์ข้อมูล และเผยแพร่ต่อสาธารณะ จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา จัดการ และหาวิธีรับมือฝุ่นควันในแต่ละพื้นที่ได้จริง เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 10

2. ตรวจตราฝุ่นควันตลอดปี รับรู้ฝุ่นควันร่วมกัน Read More »

1. ติดเครื่องกรองฝุ่นให้กลุ่มเสี่ยง ลุยหน้าฝุ่นควัน

เมืองสู้ฝุ่น / PM 2.5

ปัจจุบัน จากการเผาไหม้ทั้งในและนอกเขตจังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้เชียงใหม่ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) เกินมาตรฐาน WHO (ค่ามาตรฐานจะต้องไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อ 24 ชั่วโมง) มานานมากกว่า 12 ปี ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา ในฤดูฝุ่นควัน อัตราการระบายอากาศต่ำ ฝุ่นควันไม่สามารถกระจายตัวออกจากแอ่งกระทะเชียงใหม่ลำพูนได้เกิดการสะสมเป็นม่านควันหนาแน่น ส่งผลให้ประชาชนหายใจรับควันพิษเป็นเวลานานเฉลี่ย 3 เดือนต่อปี สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรไทย ในด้านเศรษฐกิจ ฝุ่นควันส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ธุรกิจซบเซา รายได้ลดลง และทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องตกงานจากการปิดตัวลงของธุรกิจ ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้ก็มักจะเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถป้องกันตัวจากฝุ่นควันได้ เนื่องจากพวกเขามีที่อยู่อาศัยและที่ทำงานเป็นพื้นที่เปิด และไม่มีกำลังทรัพย์มากพอที่จะเข้าถึงเครื่องกรองอากาศได้ เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะติดเครื่องกรองอากาศ ไม่น้อยกว่า 1,000 ครัวเรือนต่อปี ซึ่งมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเปราะบางในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้แก่ บ้านที่มีเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้มีรายได้น้อย เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 10

1. ติดเครื่องกรองฝุ่นให้กลุ่มเสี่ยง ลุยหน้าฝุ่นควัน Read More »

Scroll to Top