เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

22. ตั้งศูนย์บริการจราจรปลอดภัย เชียงใหม่ไร้รถติด

เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

ปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่การจราจรในพื้นที่เผชิญกับปัญหาหลายประการ เช่น การจราจรติดขัดจากการใช้รถส่วนตัว การจอดรถขวางฟุตบาทและทางเดินและสัญญาณไฟจราจรบางจุดไม่สอดคล้องกัน ทำให้การปล่อยรถไม่ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและนักท่องเที่ยว สาเหตุหนึ่งที่การบริหารจัดการระบบจราจรไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่ดูแลแต่ละส่วน เช่น เทศบาลนครเชียงใหม่ดูแลโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ตำรวจจราจรบริหารจัดการการจราจร ถึงแม้จะมีการประสานงานในการทำงานกันอยู่บ้างแต่ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกันเท่าที่ควร การบริหารจัดการระบบจราจรในเทศบาลนครเชียงใหม่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยระบบจราจรที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดปัญหารถติดและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น เปลี่ยน เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 9

22. ตั้งศูนย์บริการจราจรปลอดภัย เชียงใหม่ไร้รถติด Read More »

21. พิจารณานำร่อง วิถีเรือทางเลือก เดินทางหลากหลาย

เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

ปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำปิงไหลผ่านซึ่งเป็นเส้นทางน้ำที่สำคัญ แต่การขนส่งสาธารณะทางเรือในเชียงใหม่ยังไม่ได้รับความนิยมและการพัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากประชาชนเคยชินกับระบบสัญจรทางถนน แม่น้ำปิงส่วนใหญ่ถูกใช้ในการเกษตรและประมง หรือกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น ล่องเรือในแม่น้ำปิงเพื่อชมทิวทัศน์เมืองและวัดวาอารามต่าง ๆ แต่ยังไม่มีระบบขนส่งสาธารณะทางเรือที่ใช้เป็นการเดินทางในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันจึงเริ่มมีแนวคิดในการพัฒนาขนส่งทางเรือในเชียงใหม่ร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางภายในเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้แม่น้ำปิง ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด อีกทั้งยังช่วยในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการเดินทางในอนาคต เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะนำร่องการเดินทางด้วยเรือ สร้างระบบขนส่งสาธารณะ โดย เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

21. พิจารณานำร่อง วิถีเรือทางเลือก เดินทางหลากหลาย Read More »

20. ทวงคืนทางเท้า สู่เชียงใหม่เมืองคนเดินได้ เดินดี

เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

ปัจจุบัน เมืองเดินได้ คือ พื้นที่หรือย่านของเมืองที่จุดหมายปลายทางในชีวิตประจำวันของผู้คนอยู่ในระยะที่เดินเท้าถึง หรือประมาณ 500-800 เมตร มีการกำหนดแหล่งที่เป็นจุดหมายปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของผู้คนไว้ 6 ข้อ ได้แก่ แหล่งงาน สถานศึกษา แหล่งจับจ่ายใช้สอย พื้นที่นันทนาการ สถานที่บริการสาธารณะและธุรกรรม และสถานที่ขนส่งสาธารณะ การเดินเท้าเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ช่วยเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนในระดับสังคม การเดินเท้าช่วยกระจายรายได้ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในระดับย่าน เกิดพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและสาธารณะ จากการศึกษาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเดินพบว่าคุณภาพการเดินเท้าในเมืองเชียงใหม่ยังมีข้อจำกัดและปัญหาหลายประการ เช่น ความกว้างเฉลี่ยของทางเท้ามีเพียง 1.2 เมตร ทางเท้าบางแห่งมีสิ่งกีดขวาง พื้นที่ทางเท้าหลายพื้นที่ถูกรุกล้ำ มีแสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงคุณภาพของพื้นทางเท้าไม่ได้มาตรฐาน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลให้ประชาชนเชียงใหม่ไม่สามารถใช้ทางเดินเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะแก้ไขปัญหาพื้นที่ทางเท้า รวมถึงการออกแบบจุดเชื่อมต่อในย่านต่าง ๆ ของเมือง จนพัฒนาเมืองสู่การเป็นเมืองเดินได้  เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

20. ทวงคืนทางเท้า สู่เชียงใหม่เมืองคนเดินได้ เดินดี Read More »

19. Festival Express Bus เดินทางง่ายทุกเทศกาล

เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

ปัจจุบัน ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์ ลอยกระทง หรือช่วงสิ้นปี จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดงานเทศกาลในหลายพื้นที่ทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในย่านกลางเมือง ซึ่งทุกๆ ปีจะมีนักท่องเที่ยวและชาวเชียงใหม่ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่กลับเข้าถึงสถานที่จัดงานได้ยาก ที่จอดรถไม่เพียงพอ รวมถึงก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด บางเทศกาลต้องปิดถนน การพัฒนารถโดยสารประจำทางพิเศษสำหรับช่วงเทศกาลโดยเฉพาะเป็นแนวทางที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาจราจร ลดการใช้รถโดยสารส่วนตัว อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อเส้นทางสัญจรจากจุดท่องเที่ยวในแต่ละย่านไปสู่ขนส่งสาธารณะอื่นๆ ในเชียงใหม่อีกด้วย  เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะจัดตั้งรถโดยสารประจำทางเส้นทางพิเศษสำหรับช่วงเทศกาลต่างๆ โดย เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 8

19. Festival Express Bus เดินทางง่ายทุกเทศกาล Read More »

18. รถโรงเรียนตามแยกเข้าออกเมือง แก้ไขปัญหารถติด

เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

ปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงใหม่มีจำนวนโรงเรียนและมหาวิทยาลัยรวมถึง 53 แห่ง ซึ่งในจำนวนโรงเรียน 45 แห่ง สามารถแบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนถนนมหิดล ,คูเมือง ,ถนนแก้วนวรัฐ ,ถนนช้างคลาน และแยกข่วงสิงห์ บริเวณที่มีความหนาแน่นของการจราจรมากที่สุด คือ ถนนแก้วนวรัฐ มีจำนวนนักเรียนกว่า 12,500 คน ส่งผลให้ในช่วงเวลาตอนเช้าก่อนเข้าเรียน และตอนเย็นหลังเลิกเรียน เกิดการจราจรติดขัดบนถนนหลายสายในตัวเมืองเชียงใหม่ มีจำนวนรถส่วนบุคคลเข้าออกในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เกือบ 10,000 คัน  ทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการจราจร คือ การใช้รถรับ-ส่งนักเรียน เพื่อลดความแออัดของการจราจรบริเวณโรงเรียน ปัจจุบันรูปแบบการให้บริการรถรับ-ส่งนักเรียน เป็นรถตู้รับจ้างประจำทาง ไม่เกิน 10 ที่นั่ง ซึ่งบางโรงเรียนจะมีรถตู้โดยสารของโรงเรียนโดยเฉพาะ และบางแห่งจะให้บริการโดยคนขับรถรับจ้างอิสระ ทำให้เกิดปัญหาในมาตรฐานการบริการ จำนวนรถที่ให้บริการ รวมถึงความปลอดภัยของเด็กนักเรียน จากข้อมูลของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน พบว่าในปี 2566 มีรถรับ-ส่งนักเรียนเกิดอุบัติเหตุถึง 30 ครั้ง เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่ จะจัดบริการรถรับส่งนักเรียนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดย    เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

18. รถโรงเรียนตามแยกเข้าออกเมือง แก้ไขปัญหารถติด Read More »

17. นำร่องพัฒนา รถสี่ล้อแดงประจำทาง ทางเลือกของระบบขนส่งสาธารณะ

เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

ปัจจุบัน ระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตขับเคลื่อนโดยรถสองแถว โดยเฉพาะรถสี่ล้อแดง มีลักษณะเป็นรถโดยสารรับจ้างสองแถวขนาดเล็กที่ให้บริการในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ มีการเก็บค่าบริการตามระยะทาง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ รถวิ่งไม่ประจำทาง การให้บริการไม่เป็นมาตรฐาน วินัยในการขับขี่รถ ไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร รวมถึงอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นตามตามกำหนด โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติ การพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้เกิดรูปแบบการให้บริการขนส่งผ่านแอปพลิเคชันที่สะดวกและรวดเร็วกว่า ส่งผลให้การใช้บริการรถสี่ล้อแดงของคนเมืองและนักท่องเที่ยวลดจำนวนลง จนเกิดเป็นกระแสเรียกร้องของคนขับรถสี่ล้อแดง ในเดือนพฤษภาคม ปี 2567 มีการจัดทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOU รถสาธารณะ ผู้ประกอบการ และรถรับจ้าง จ.เชียงใหม่ ภายใต้กรอบการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เนื่องจากเป็นสาเหตุให้รายได้ของคนขับรถสี่ล้อแดงลดลง บวกกับวิกฤตราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้งคนขับรถและผู้รับบริการ เปลี่ยน เทศบาลนครเชียงใหม่จะร่วมมือกับสหกรณ์นครลานนาเดินรถ(เจ้าของสัมปทาน) เพื่อหาแนวทางในการสร้างระบบขนส่งสาธารณะที่มีมาตรฐาน ปรับรูปแบบการให้บริการตามยุคสมัย โดย เชียงใหม่ได้อะไร จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 9

17. นำร่องพัฒนา รถสี่ล้อแดงประจำทาง ทางเลือกของระบบขนส่งสาธารณะ Read More »

16. ทวงคืนรถเมล์ขาวเพื่อคนเชียงใหม่  สะดวกปลอดภัย เข้าถึงได้จริง

เมืองคล่องตัวกับตัวเลือกการเดินทางอันหลากหลาย

ปัจจุบัน เชียงใหม่ประสบปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน เนื่องมาจากระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งขนส่งมวลชน รถประจำทาง รวมถึงการใช้บริการจากแอปพลิเคชันซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง คนเชียงใหม่จึงนิยมใช้รถจักรยานยนต์ส่วนตัว ซึ่งมีสัดส่วนถึง 54% รองลงมาคือรถยนต์ 44% และอื่น ๆ 2% ( อ้างอิงจากจำนวนรถจดทะเบียนสะสม จ.เชียงใหม่ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 กลุ่มสถิติการขนส่ง ) ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นควัน รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึง เชียงใหม่เคยให้บริการรถเมล์ขาว ซึ่งเป็นรถโดยสารสาธารณะแบบปรับอากาศ สีขาว จำนวน 20 ที่นั่ง อัตราค่าบริการ 15 บาท เป็นเวลากว่า 18 ปี ( 2546 – 2564 ) แต่ยุติการให้บริการลง จากการขาดทุนและสถานการณ์โควิด เนื่องจากรถเมล์ไม่ได้อยู่ในเส้นทางคมนาคมหลักที่ผู้คนจะใช้บริการ รวมถึงปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่ง  ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการให้บริการรถโดยสารสาธารณะโดยภาคเอกชน ในชื่อ RTC Chiang Mai City

16. ทวงคืนรถเมล์ขาวเพื่อคนเชียงใหม่  สะดวกปลอดภัย เข้าถึงได้จริง Read More »

Scroll to Top