ปัจจุบัน
เทศบาลนครเชียงใหม่ไม่มีโรงพยาบาลรัฐประจำตำบล ทำให้ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเล็กน้อยต้องไปใช้บริการที่โรงพยาบาลใหญ่ เช่น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์ ซึ่งมีความหนาแน่นของคนไข้สูง ส่งผลให้คิวยาวและใช้เวลารอคอยมาก ตามข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่ ปี 2566 รายงานสถานการณ์สุขภาพในเชียงใหม่พบว่ามีผู้ป่วยที่ต้องรอรับบริการในโรงพยาบาลใหญ่เฉลี่ยถึง 500 คนต่อวัน ซึ่งเกินกว่าความสามารถในการรองรับของโรงพยาบาลใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปลี่ยน
- เทศบาลฯ จะจัดตั้งคลินิกปฐมภูมิในทุกแขวงภายใต้โครงการ Contract Unit of Primary Care (CUP) เพื่อให้บริการรักษาเจ็บป่วยเล็กน้อยและโรคเรื้อรัง (NCDs) ได้ใกล้บ้าน พร้อมส่งเสริมการใช้ Telemedicine สำหรับการปรึกษาและรับยา
- เพิ่มคลินิกชุมชนโดยใช้บุคลากรจากโรงพยาบาลหมุนเวียนออกตรวจตามชุมชนและโรงเรียน เริ่มจากอาทิตย์ละวันหรือสองวัน พร้อมทั้งใช้ระบบนัดหมายเพื่อลดความแออัด
- จัดตั้งคลินิกเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตในทุกแขวง เพื่อให้บริการปรึกษาและรักษาด้านสุขภาพจิต รวมถึงการใช้ Telemedicine เพื่อลดการเดินทางและเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น
เชียงใหม่ได้อะไร
- ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการรักษาเจ็บป่วยเล็กน้อย ตรวจเอ็กซเรย์ ทันตกรรม และรับยาประจำได้ใกล้บ้าน ลดความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ และใช้สิทธิ์ 30 บาท
- การบริหารจัดการด้านสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Telemedicine ช่วยลดเวลาในการเดินทางและการรอคอย
- คนเชียงใหม่สามารถเข้าถึงคลินิกเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตและการรักษาโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ยาประจำ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้สะดวกยิ่งขึ้น