ปัจจุบัน
เทศบาลนครเชียงใหม่มีอัตราการผลิตขยะประมาณ 380 ตันต่อวัน ทำให้มีภาระทางงบประมาณในการจัดเก็บขยะสูงถึงปีละ 200 ล้านบาท (เก็บขยะ 100 ล้านบาทและนำขยะไปกำจัด 100 ล้านบาท) โดยขยะที่เข้าสู่ระบบมีทั้งขยะอินทรีย์ 80% และขยะรีไซเคิล 20% อย่างไรดี ยังมีขยะที่ถูกจัดเก็บถึง 75% ที่ไม่ได้รับการกำจัดและไปอยู่ในบ่อขยะที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เพราะระบบคัดแยกขยะยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ขยะรีไซเคิลมักปนเปื้อน การจัดการขยะโดยการเผาและฝังกลบก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและน้ำ ปัญหาขยะล้นเมืองเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และเศรษฐกิจของเมือง
เปลี่ยน
- เทศบาลนครเชียงใหม่ลดปริมาณขยะเข้าสู่ระบบผ่านการสร้างระบบรีไซเคิลชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมผ่านการแยกขยะและนำมาขายให้กับเทศบาล เมื่อเทศบาลรับซื้อ ชุมชนสามารถนำรายได้เสริมนี้ไปพัฒนาเป็นกิจกรรมอื่นๆ
- เทศบาลนครเชียงใหม่จะเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บขยะ ด้วยการเก็บค่าทิ้งขยะตามปริมาณที่ทิ้งจริง (จ่ายมาก ทิ้งมาก) ซึ่งจะกระตุ้นให้ประชาชนลดปริมาณขยะ และส่งเสริมการคัดแยกที่มีประสิทธิภาพ
เชียงใหม่ได้อะไร
- ลดปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบ ลดภาระการจัดการขยะของเทศบาล สิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้างบ่อขยะและที่กำจัดขยะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
- ชุมชนมีรายได้หมุนเวียนจากการขายขยะรีไซเคิล และสามารถพัฒนากิจกรรมอื่น ๆ ได้จากเงินเพิ่มเติมที่ได้รับ
- ประหยัดงบประมาณการจัดการขยะของเทศบาลลงอย่างน้อย 10% เท่ากับ เทศบาลจะมีงบประมาณดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้นถึง 20 ล้านบาทต่อปี