25. ขึ้นทะเบียนต้นไม้ใหญ่ในเมือง อนุรักษ์ต้นไม้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน

จังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณของพื้นที่สีเขียวในเมืองลดลง ซึ่งตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เมืองควรมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน แต่จากสถิติรายงานสรุปพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณระดับจังหวัด ปี 2567 ระบุว่าจังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณพื้นที่สีเขียวเพียง 1.55 ตารางเมตรต่อคน สาเหตุหนึ่งเกิดจากรุกล้ำเขตพื้นที่ป่าและการตัดต้นไม้ในเมือง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของเมืองไปจนถึงการเกิดสภาวะโลกร้อน

เมืองเชียงใหม่มีต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่จำนวนมาก เช่น ต้นยางนาบริเวณถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ต้นจามจุรียักษ์ สโมสรยิมคานา ต้นยางอินทนิล ”ไม้หมายเมือง” ณ วัดเจดีย์หลวงฯ ล้วนแต่เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญต่อเมืองทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และสภาพแวดล้อม แต่ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือกฎหมายคุ้มครองต้นไม้ รวมถึงการขาดฐานข้อมูลต้นไม้ใหญ่หรือต้นไม้มรดกที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาและอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ของเมือง  

เปลี่ยน

  • กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนต้นไม้มรดกและต้นไม้ใหญ่ทั่วเชียงใหม่ ระบุสถานที่ตั้งชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบดูแล
  • ร่วมมือกับหน่วยงานและประชาชน จัดทำระบบบันทึกและจัดเก็บฐานข้อมูลต้นไม้ในเมืองอย่างละเอียด ทั้งชนิดพันธุ์ ขนาด ลักษณะความสมบูรณ์ สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ในลักษณะข้อมูลเปิดของภาครัฐ (Open Data)
  • คำนวณสถิติข้อมูล เช่น คาร์บอนเครดิตของต้นไม้ ปริมาณน้ำฝนที่ต้นไม้แต่ละต้นดูดซับไว้ ปริมาณที่ช่วยประหยัดไฟฟ้าคิดเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ปริมาณมลภาวะที่ลดลง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณค่าทางเศรษฐกิจของต้นไม้

เชียงใหม่ได้อะไร

  • ต้นไม้ในเมืองได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต้นไม้เก่าแก่ในเมือง เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้
  • สภาพแวดล้อมโดยรวมของเมืองดีขึ้น มลภาวะลดลง เกิดการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองอย่างยั่งยืน
  • ลดการเกิดภาวะโลกร้อนและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการคำนวณคาร์บอนเครดิตของต้นไม้
Scroll to Top