100. รัฐเปิดเผย (Open Data) เข้าถึงข้อมูลสาธารณะ โปร่งใส ตรวจสอบได้

ปัจจุบัน

ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) คือ ข้อมูลสาธารณะที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในปี 2566 ภาครัฐมีการเปิดเผยข้อมูล ผ่าน data.go.th จำนวน 10,800 ชุดข้อมูล แต่ข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐยังมีการเปิดเผยอย่างจำกัด เช่น โครงการที่ตั้งงบประมาณไม่ถึง 5 แสนบาท เป็นการจัดซื้อจัดจ้างในรูปแบบเฉพาะ ซึ่งตามกฎหมายไม่จำเป็นต้องมีการเปิดซองประมูล จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อวิเคราะห์หรือสร้างนวัตกรรมข้อมูล

การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้จึงมีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปต่อยอด รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนในการทำงานแบบโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง รับรู้ข้อมูลข่าวสารและนโยบายต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ 

เปลี่ยน

  • เปิดเผยข้อมูลเปิดของภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูลแบบ Real-Time โดยปลอดข้อจำกัดทางทรัพย์สินทางปัญญา ( License-free )
  • จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเมืองสาธารณะ (เทศบาลเมืองแม่เหียะ) เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ งานกิจกรรม รายละเอียดนโยบาย โครงการพัฒนาเมือง รวมถึงข้อมูลสรุปการประชุมต่าง ๆ
  • สร้างช่องทางตรวจสอบโครงการ TOR จัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งประกอบด้วยเอกสารแสดงข้อมูล รายการ รายละเอียดเทคนิคของสิ่งของ หรืองานจ้าง เพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐ

เชียงใหม่ได้อะไร

  • ประชาชนมีแหล่งข้อมูลส่วนกลางในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลได้จากแหล่งเดียวกัน ป้องกันการเกิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและผิดพลาด  สามารถนำไปต่อยอดเพื่อการศึกษาวิจัย นวัตกรรม หรือธุรกิจได้  
  • เสริมสร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจของประชาชน สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐ สร้างความโปร่งใสในการบริหารพัฒนาเมือง แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
Scroll to Top